Complete Accounting Program สอนบัญชี และปิดงบการเงิน (ภาคปฏิบัติ) |
สอนเป็นกลุ่มย่อยส่วนตัว ให้ความรู้และคำปรึกษาแต่ละบุคคลอย่างใกล้ชิด จนปิดงบการเงินได้ |
นับชั่วโมง CPD ผู้ทำบัญชี เป็นชั่วโมงบัญชี 12 ชั่วโมง ชั่วโมงอื่น ๆ 12 ชั่วโมง รวม 24 ชั่วโมง |
ระยะเวลา : วันอาทิตย์ 6 ชั่วโมง/วัน รวม 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน ทั้งหมด 4 วันเต็ม เรียนตั้งแต่ 09.00-16.30 น. |
สำหรับผู้นับชั่วโมง ลงทะเบียน 08.30 - 09.00 น. พร้อมแสดงบัตรประชาชน ทางสถาบันจะลงชั่วโมงตามการอบรมจริงเท่านั้น |
คุณสมบัติผู้เรียน
- ไม่มีพื้นฐานด้านงานบัญชี แต่เรียนจบบัญชี ต้องการปิดงบการเงิน
- มีพื้นฐานด้านงานบัญชี แต่ยังปิดงบการเงินไม่ได้
- ผู้ที่สนใจ ในเรื่องการปิดงบการเงิน
|
อัตราค่าบริการ ปกติ 9,500 บาท/ท่าน พิเศษเพียง 6,900 บาท/ท่าน (ราคารวมเอกสารการสอน ค่าอาหารกลางวัน ทุกอย่างแล้ว ) |
เป็นการสอนตั้งแต่การบันทึกบัญชี ปรับปรุงตามหลักภาษี จนถึงปิดงบการเงิน จากเอกสารจริง และโปรแกรมสำเร็จรูป |
เพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้เรื่องภาษี การทำรายงาน และการกรอกแบบทางภาษีต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภงด. 1 3 53 ภงด.1ก ภพ 30 ประมาณการกลางปี ภงด 51 สิ้นปี ภงด 50 และกรอกแบบสบช 3 นำส่งกระทรวงพาณิชย์ กฎหมายล่าสุด |
เพิ่มเติม การรายงานงบการเงิน การอ่านงบการเงิน นำเสนอต่อหัวหน้า หรือผู้บริหาร ( ธุรกิจ ซื้อมาขายไป) |
- พื้นฐานการบัญชีเบื้องต้น และกฎหมาย ตาม พรบ. การบัญชี 2543ที่เกี่ยวข้องกับผู้ทำบัญชีควรทราบ
- การสร้างความเข้าใจถึงสมการบัญชี วงจรบัญชี การบันทึกบัญชี ผ่านแยกประเภท และออกงบทดลอง เพื่อออกงบ การเงิน
- พื้นฐานการวางระบบบัญชีที่ควรทราบ
- ผังบัญชี การจัดหมวดหมู่ เอกสารทางบัญชีให้สอดคล้องกับมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่
- ความสำคัญการจัดทำสมุดรายวันเฉพาะ หลักการจัดเตรียม Voucher (ใบสำคัญต่าง ๆ ) และทะเบียนต่าง ๆ เพื่อให้ เกิดการควบคุมภายใน
- พื้นฐานการวิเคราะห์ประเภทธุรกิจ เพื่อให้ทราบถึงระบบบัญชีและภาษี
- ความแตกต่างระหว่างกำไร(ขาดทุน)ทางบัญชีและกำไร(ขาดทุน)ทางภาษี
- ความแตกต่างการบันทึกบัญชีสินค้าแบบ Periodic และแบบ Perpetual (เน้นการบันทึกบัญชีแบบ Periodic)
- ฝึกปฏิบัติโดยการบันทึกบัญชีตามเอกสารใบสำคัญ จากเอกสารใบสำคัญตัวอย่าง (เอกสารจริง)ในการทำงาน 1 เดือน โดยเริ่มจากกิจการที่เปิดใหม่ ธุรกิจ ซื้อมาขายไป (เป็นการบันทึกบัญชีด้วยมือ)
- บันทึกบัญชีลงสมุดรายวันต่าง ๆ (โดยสถาบันจะจัดเตรียมแบบฟอร์มไว้ให้)
- การคำนวณการหัก ณ ที่จ่าย ภงด. 1.3.53 การจ่ายเงินเดือนพนักงาน การกรอกแบบ ภงด. 1 และแบบฟอร์มประกัน สังคม และการบันทึกบัญชีการจ่ายเงินเดือน
- ทำการผ่านรายการจากสมุดรายวัน ไปแยกประเภท
- เก็บรายละเอียดจากแยกประเภท เพื่อออกงบทดลอง สำหรับเดือน มกราคม - การจัดทำ รายงานภาษีซื้อ ขาย การกรอกแบบ ภพ. 30
|
ฝึกปฏิบัติพร้อมอธิบายทฤษฎี |
- อธิบายการ Set up โปรแกรมสำเร็จรูปบัญชีโดยทั่วไป
- นำยอดในงบทดลองในวันที่ 1 บันทึกเป็นยอดยกมาในโปรแกรมสำเร็จรูป บนคอมพิวเตอร์
- บันทึกบัญชี ทั้งระบบ เน้นปิดงบการเงินบนโปรแกรม เพื่อปิดงบการเงินครึ่งปี
- การจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ/บัญชีสินค้า (สต็อคการ์ด) ครึ่งปี
- การจัดทำทะเบียนสินทรัพย์และคิดค่าเสื่อมราคา
- การจัดทำรายงานมูลค่าคงเหลือสินค้าปลายงวด
- การจัดทำงบต้นทุนขาย (ครึ่งปี) - ออกงบทดลอง (ครึ่งปี)
- หลักการจัดทำประมาณการกลางปี และการกรอกภงด. 51
- การปรับปรุงบัญชี ตามมาตรา 67 ทวิ และ 67 ตรี (ครึ่งปี)
- หลักการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีกลางปี ตามมาตรา 65 ทวิ 65 ตรี
|
ฝึกปฏิบัติพร้อมอธิบายทฤษฎี |
- เน้นบันทึกบัญชี โดยมีรายการที่เป็นประเด็นภาษีเพื่อให้เข้าใจในการบันทึกบัญชีจริง(ในโปรแกรมสำเร็จรูป)
- จัดทำรายงานสินค้าคงเหลือ(ปลายปี) ตัวอย่างรายงานการตรวจนับสินค้า
- การจัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร -อธิบาย การจัดทำรายละเอียดประกอบงบการเงินสิ้นปี (พร้อมให้ไฟล์ตัวอย่างกลับไปใช้งานได้)
- ออกงบทดลอง จัดทำกระดาษทำการรายการปิดบัญชีสิ้นปี
- การคำนวณภาษีนิติบุคคล (โดยมีเอกสารคำนวณประกอบ) นำไปใช้งานได้จริง
- การปรับปรุงกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษีตาม มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี (ภาคปฏิบัติ)
- ออกงบการเงินตามรูปแบบมาตรฐาน ฉบับใหม่ (สำหรับธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ)
- การจัดเตรียมเอกสารส่งผู้สอบบัญชี - วิธีการกรอก ภงด. 50 อย่างถูกต้อง หลักเกณฑ์ ระยะเวลา และวิธีการยื่นแบบ ภงด. 50 ต่อกรมสรรพากร
|
หลักเกณฑ์ ระยะเวลา คำเตือน การยื่นแบบ สบช.3 และงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์ |
- ฝึกปฏิบัติ เการกรอกแบบ สบช. 3 จากงบการเงินในวันที่ 3
- การจัดทำ บอจ. 5
- ตัวอย่างจดหมาย เชิญประชุม และรายงานประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น
- ความรู้ภาษีเงินได้นิติบุคคล (เน้นการเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ และมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี(ภาค ทฤษฎี)) รายจ่ายต้องห้ามต่าง ๆ
- ความแตกต่างระหว่างเช่าซื้อกับลิสซิ่ง(เน้นรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน) รวมทั้งการ บันทึก บัญชีที่ถูกต้อง และทางด้านภาษี
- ความรู้ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ผู้ทำบัญชีควรทราบ - ความรู้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ทำบัญชีควรทราบ
- ความรู้ภาษีบุคคลธรรมดา สิทธิการลดหย่อน
- ความรู้ภาษีธุรกิจเฉพาะ (เน้นดอกเบี้ยรับ สำหรับกิจการกระทำการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์)
- การนำเสนองบการเงินต่อผู้บริหาร (พร้อมให้ไฟล์ตัวอย่าง)
- การวิเคราะห์งบการเงินเบื้องต้น (ในเชิงบริหาร)
- ปรึกษาอื่นๆ
|
 |